ผู้ติดตาม

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์

หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์
               
           เยื่อหุ้มเซลล์ อาจเรียกว่า plasma membrane หรือ cytoplasmic membrane เป็นเยื่อบางอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ประกอบด้วนสารประกอบสองชนิด คือ ลิพิด (lipid) ชนิดฟอสโฟลิพิด (phospholipid) และโปรตีน (protein) มีคาร์โบไฮเดรตแทรกอยู่เล็กน้อย ฟอสโฟลิพิด เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะเป็น ชั้น




ที่มา : http://biology.tutorvista.com/animal-and-plant-cells/plasma-membrane.html


เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell membrane หรือ plasma membrane )    มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ เป็นโครงสร้างที่พบในสิ่ง  มีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยสารหลัก  2 ชนิด คือ ฟอสโฟลิพิดและโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจะจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น ซึ่งจะหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (ส่วนหาง)เข้าหากัน และหันส่วนที่ชอบน้ำ (ส่วนหัว) ออกจากกัน โดยมีโมเลกุลของโปรตีนกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของฟอสโฟลิพิด นอกจากนี้ยังมีคอเลสเตอรอล ไกลโคโปรตีน และไกลโคลิพิดเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย  เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่

1) ห่อหุ้มส่วนประกอบภายในเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้
2) ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ทำให้ปริมาณของสารต่างๆพอเหมาะ
3) เป็นตำแหน่งที่มีการติดต่อระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ cell membrane
เยื่อหุ้มเซลล์ อาจเรียกว่า plasma membrane หรือ cytoplasmic membrane เป็นเยื่อบางอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ประกอบด้วนสารประกอบสองชนิด คือ ลิพิด (lipid) ชนิดฟอสโฟลิพิด (phospholipid) และโปรตีน (protein) มีคาร์โบไฮเดรตแทรกอยู่เล็กน้อย ฟอสโฟลิพิด เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะเป็น 2 ชั้น


การสื่อสาระหว่างเซลล์


การสื่อสารระหว่างเซลล์

         เมื่อเท้าของเราไปสัมผัสกับตะปูที่ร้อนเราจะชักเท้าออกจากตะปูทันที แสดงว่าเซลล์รับความรู้สึกที่ผิวหนังรับความรู้สึกและสื่อสารไปยังเซลล์ประสาท นำคำสั่งที่อยู่ไขสันหลัง สังการให้เซลล์กล้ามเนื้อที่ขาหดตัวยกขาออกจากตะปู แสดงว่าเซลล์ที่อยู่ไกลกันสามารถสื่อสารกันได้โดยที่เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เมื่อรับความรู้สึก ก็จะมีการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทไปตามใยประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปที่ปลายแอกซอนของใยประสาท ก็จะมีการปล่อยสารสื่อประสาทจากเซลล์หนึ่งส่งต่อให้อีกเซลล์หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับปลายแอกซอน โดยที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทตัวรับจะมีโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับสารสื่อประสาท



 (ที่มา:https://chainsorrowful.wordpress.com)


จากที่กล่าวมาแล้วจะเป็นว่ากระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์มี 3 ขั้นตอน ได้แก่
       1. การรับสัญญาณ (reception) หมายถึง การที่เซลล์เป้าหมายรับสัญญาณ (signal) จากภายนอกเซลล์ โดยโปรตีนตัวรับซึ่งอยู่บริเวณผิวของเซลล์เป้าหมาย จับตัวกับโมเลกุลของสารเคมีที่หลั่งออกมาจากเซลล์อื่น เช่น ฮอร์โมน สารสื่อประสาท ถ้าเป็นสเตรอยด์ ตัวรับสัญญาณจะอยู่ภายในเซลล์
       2. การส่งสัญญาณ (signal transduction) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณ เมื่อโมเลกุลของฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทจับกับโปรตีนตัวรับ ทำให้โปรตีนตัวรับเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งสัญญาณ
       3. การตอบสนอง (response) เป็นขั้นตอนที่เซลล์เป้าหมายแสดงกิจกรรมต่างๆ ตอบสนองต่อสัญญาณที่ได้รับ เช่น การหลั่งสารออกจากเซลล์ การจัดเรียงตัวของไซโทสเกเลตอน ทำให้เซลล์เปลี่ยนรูปร่าง การตอบสนองของเซลล์มีความจำเพาะต่อสารเคมี เพราะเซลล์ต่างชนิดกันมีโปรตีนที่เป็นตัวรับต่างชนิดกัน การตอบสนองจึงขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีนตัวรับของเซลล์นั้นๆ สิ่งสำคัญในการตอบสนองต่อสัญญาณ คือ ความสามารถของโปรตีนตัวรับในการเปลี่ยนรูปร่างกลับไปมาได้ เพื่อให้พร้อมที่จะตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณใหม่

             (อ้างอิง:https://chainsorrowful.wordpress.com)




ความหมายและประวัติการศึกษา


เซลล์ของสิ่งมีชีวิต (Cell of organisms)

เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia – like organism) มีขนาดประมาณ 0.1 – 0.25 mเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซลล์ไข่นกกระจอกเทศ


(ที่มา:https://chainsorrowful.wordpress.com)
                                                                                   
ประวัติการศึกษาเซลล์ (Cell)
ศตวรรษที่ 17 กาลิเลโอ ได้ประดิษฐ์แว่นขยายกำลังขยาย 2-5 เท่า ส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆค.ศ.1665 Robert Hook ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบได้สำเร็จ ซึ่งมีกำลังขยาย 270 เท่า และนำไปส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆและพบห้องว่างมากมายที่เขาเรียกว่า Cell ค.ศ.1839 ชวานน์และชไลเดน ได้เสนอ ทฤษฎีเซลล์ทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory)เสนอโดย Schwann และ Schleiden มีใจความสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ ในปัจจุบัน พบว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ประกอบด้วยเซลล์ก็มี เช่น Virus และ Viroid เพราะเหตุว่า ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์และโพรโทพลาซึม



 









(อ้างอิง:https://chainsorrowful.wordpress.com)

หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์

หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์                            เยื่อหุ้มเซลล์ อาจเรียกว่า  plasma membrane  หรือ ...